Miyuki Takara - Lucky Star

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เวสสันดรชาดก

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็น
พระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุมและในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและ
สวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณี
ที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่าการฟังเทศน์มหาชาติจบภายใน
วันเดียวจะได้รับอานิสงส์มา


ผู้แต่ง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี (กลิ่น)
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์


ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา

เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่

 ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ 
 คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  
ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศ

ใกล้เคียงนับถือกันมาแต่ อ่านเพิ่มเติม

วิธุรชาดก

ชาติที่ 9 พระวิฑูรบัณฑิต
วิธุรชาดกเป็นเรื่องในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ที่ทรงเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการบำเพ็ญสัจบารมี 
ในพระชาตินี้ พระโพธิสัตว์ทรงเกิดเป็นวิธุรบัณฑิตผู้บำเพ็ญสัจบารมี 
จนปรากฏเด่นชัดยิ่งกว่าพระชาติใด ๆคำว่า “สัจจะ” คือ ความจริง 
ความซื่อตรง คนที่มีสัจจะ คือ คนที่พูดอย่างไรทำอย่างนั้น 
เป็นคนที่ไว้วางใจได้ทั้งต่อหน้าและลับหลังวิธุรบัณฑิตเป็นผู้ที่
ยึดมั่นในสัจจะชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันโดยไม่หวั่นไหวว่าจะ
ต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง
เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระบรมศาสดาเคยเสวยชาติ 
เป็นผู้มีปัญญาบารมี เข้าใจเวไนยสัตว์และปราบมารให้สิ้นพยศได้
 อดีตนิทานมีเรื่องราวดังนี้

ในแคว้นกุรุรัฐ พระเจ้านัญชัยโกรพทรงครองเมืองอินทปัตตี 

มีราชเสวกนามว่า "วิฑูรบัณฑิต" เป็นอาจารย์สอนธรรมที่มีความปราดเปรื่อง
 และน้าวพระทัยให้พระราชาใฝ่ธรรมะด้วยดีเสมอมา

ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๔ คน คบหาเป็นมิตรกัน ออกบวชด้วย อ่านเพิ่มเติม

พรหมนารทชาดก

พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)

นิทานชาดก พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)ครั้งหนึ่งมีพระโพธิสัตว์นามว่า พระนารท ซึ่งเป็นภพชาติหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องว่า มีพระราชาผู้ครองเมืองมิถิลา ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม พระนามว่า อังคติราช ทรงมีพระธิดาพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระสิริโฉมงดงามนัก พระนามว่า รุจาราชกุมารี ผู้เป็นที่รักแห่งองค์พระราชา เมื่อถึงคืนแห่งเทศกาลมหรสพชาวเมืองได้ประดับประดาบ้านเรือนของตนอย่างสวยงามทุกเรือน ขณะดวงจันทร์ทรงกลดลอยเด่นอยู่บนนภา พระเจ้าอังคติราชทรงประทับท่ามกลางเหล่าเสนาอำมาตย์ภายในพระราชวังที่ประดับประดาอย่างงดงามอลังการสมพระเกียรติแห่งองค์ราชัน

พระเจ้าอังคติราชทรงตรัสกับเหล่าอำมาตย์ว่า “พวกเจ้าว่าในราตรีอันรื่นรมย์เช่นนี้ ข้าจะทำอันใดให้อภิรมย์ดี” ฝ่ายอลาตอำมาตย์ทูลว่า อ่านเพิ่มเติม

จันทกุมารชาดก

   พระจันทกุมาร (จ) เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ ๗ ในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
    เรื่องมีอยู่ว่าสมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชสมบัติอยู่ในบุปผาดีนคร ท้าวเธอมีมเหสีพระนามว่าโคตมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร มีปุโรหิตชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์
    กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อมียศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ก็ชอบกินสินบน เข้าแบบที่มูลบทบรรพกิจสอนเด็กไว้ว่า
 
“ใครเอาข้าวปลามาให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะไม่ถือประเพณี
ขี้ฉ่อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา”
   นี้เป็นแบบเดียวกัน มีเรื่องความอะไรมา ถ้าไม่อยากชนะ เงิน-เงิน-เงิน เท่านั้นเป็นพระเจ้า ภายในร่างกายของกัณฑหาลพราหมณ์ดูจะเต็มไปด้วยเงิน เลือดคงจะกลายเป็นสีน้ำเงินไปด้วย
    การกินการโกงเป็นของมีมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ แม้เมื่อกัณฑหาลพราหมณ์เข้ามาเสวยอำนาจ เป็นเรื่องเลื่องลือกระฉ่อนไปหมดในสมัยนั้น ไม่มีใครสามารถจะจัดการได้ หากใครร้องเรียนจะต้องถูกลงโทษฐานะบ่อนทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์เสียด้วย เลยพวกปากหอยปากปูทั้งหลายต้องนิ่งเงียบปล่อยให้ลือตามใจชอบ
    วันหนึ่งตอนจะเกิดเรื่อง กัณฑหาลพราหมณ์ตัดสินคดี อย่างที่เคยมาแล้ว คือให้คนที่เอาสินบนมาถวายชนะไป ผู้ที่แพ้ก็ได้แต่ก้มหน้า อ่านเพิ่มเติม

ภูริทัตตชาดก


พระภูริทัต ผู้บำเพ็ญศีลบารมี (ภูริทัตชาดก)

พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์เพื่อแย่งชิงพระราชสมบัติ เช้าวันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงมีรับสั่งให้พระโอรสออกไปให้ห่างไกลจากเมืองพาราณสีแห่งนี้จนกว่าพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ พระโอรสจึงจะสามารถกลับมาสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระองค์ได้ ด้วยเกรงว่าเหตุการณ์จะเป็นไปดังที่ทรงเกิดนิมิตในพระสุบินของพระองค์
ฝ่ายพระโอรสผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชาอยู่ ณ บัดนี้ ไม่เข้าใจในพระบิดา แต่ก็ยินดีทำตามพระประสงค์ของบิดา จึงทรงเดินทางไปบวชอยู่ ณ บริเวณแม่น้ำยุมนา ขณะนั้นมีนางนาคตนหนึ่งเดินทางท่องเที่ยวมาตามริมน้ำอย่างว้าเหว่ เนื่องจากสามีของนางเพิ่งตายไป ทำให้นางต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมิอาจทนอยู่ในบาดาลได้ จนมาเห็นศาลาซึ่งเป็นที่พักของพระโอรสจึงแอบดู ก็พบพระโอรสรูปงามซึ่งบัดนี้ได้เป็นนักบวชพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ นางนาคจึงคิดลองใจโดยจัดตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้หอมนานาชนิด พร้อมของทิพย์สวยงามต่างๆ จากเมือง อ่านเพิ่มเติม

มโหสถชาดก

มโหสถ
เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในทศชาติ มีเรื่องราวโดยย่อดังนี้

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในพระราชสำนักของพระเจ้าวิเทหะ เมืองมิถิลา มีราชบัณฑิตอยู่ ๔ คน คือ เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และ เทวินทะ มีบ้านอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐีและนางสุมนาเทวี ในหมู่บ้านอันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในวันถือปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น พระราชาทรงสุบินว่า ที่มุมสนามหลวง ๔ มุมมีกองเพลิงใหญ่เท่ากำแพงเมือง ๔ กอง ในท่ามกลางมีกองไฟเท่าหิ่งห้อย ๑ กอง แต่กลับส่องสว่างไสวมากกว่ากองเพลิงทั้ง ๔ กองนั้นโหรหลวงจำทำนายว่าจักมีบัณฑิตคนสำคัญมาเกิดในเมืองนี้มโหสถกุมารได้แสดงความเป็นบัณฑิตตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น มีความสามารถออกแบบสร้างศาลาและให้ประดับตกแต่งศาลาพร้อมกับปลูกไม้ดอกไม้ประดับได้ และได้แสดงความอัจฉริยะทางสติปัญญาหลายประการ ได้แก่ อ่านเพิ่มเติม

เนมิราชชาดก

พระเนมิราช
คติธรรม : บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
"การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยตั้งใจมั่นคง โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี
ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้”

     ♤ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ ณ เมืองมิถิลา เมื่อบิณฑบาตแล้วประทับอยู่ในอัมพวันสวนมะม่วง ในเวลาตะวันเย็นทอดพระเนตรภูมิประเทศราบรื่น พระพุทธองค์จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบทูลตามเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระพุทธองค์ตรัสว่า ครั้งเมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็น “พระยามะฆะเทวราช” ได้มาเล่นอยู่ในอัมพวันอุทยาน ณ สถานที่นี้ถึง ๘๔,๐๐๐ ปี แล้วทรงนิ่งอยู่ พระสงฆ์ทั้งปวงพร้อมกันอาราธนา พระพุทธเจ้าจึงโปรดประทานเล่าเรื่อง  อ่านเพิ่มเติม

สุวรรณสามชาดก

ชาติที่ 3 พระสุวรรณสาม
สุวรรณสามชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ การแผ่เมตตาจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง
เป็นสุขโดยทั่วหน้ากัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่มีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ เพศ วัย หรือเผ่าพันธ์ุใด ๆ เพราะท่านคิดว่าสัตว์โลก คือ เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังนั้นท่านจึงมีความปรารถนาจะนำพาหมู่สัตว์ข้ามวัฏสงสารไปสู่นิพพานในพระชาตินี้ พระโพธิสัตว์สุวรรณสามได้บำเพ็ญเมตตาบารมีอย่างยิ่งยวดแม้ว่าจะถูกประทุษร้ายจนสิ้นชีวิตก็ตามการสร้างเมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์ในพระชาตินี้

เมื่อครั้นอดีตกาลนานมาแล้ว มีนายพรานผู้หนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทางตอนใต้ของเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นละแวกหมู่บ้านนายพราน

ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำก็มีนายพรานอีกหลัง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท รักใคร่ชอบพอกันดีกับนายพรานฝั่งนี้ ทั้งสองสัญญากันว่าหากมีลูกสาวกับลูกชายก็จะให้แต่งงานกัน ซึ่งในไม่ช้าภรรยาของทั้งสองนายพรานก็ อ่านเพิ่มเติม

มหาชนกชาดก

      ในอดีตที่ล่วงมาแล้ว มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งนามว่า มหาชนก เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งนามว่า อริฎฐชนก อีกองค์หนึ่งมีนามว่าโปลชนก พระองค์ได้ทรงตั้งอริฎฐชนกในตำเเหน่ง อุปราช และโปลชนกในตำเเหน่ง เสนาบดี ต่อมาเมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว อุปราชก็ได้ขึ้นครองแผ่นดินเสวยราชสมบัติแทน และได้แต่งตั้งเจ้าโปลชนกผู้เป็นน้องให้เป็นอุปราช ในขณะเมื่อเจ้าอริฎฐชนกเป็นอุราชอยู่นั้นก็รู้สึกว่าเป็นคนยุติธรรมดีอยู่ แต่เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วหูเบา ฟังแต่ถ้อยคำคนประจบสอพลอ เพราะตามธรรมดาคนประจบสอพลอนั้น จะต้องหาเรื่องฟ้องคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เพราะคนไม่ทำงานแต่ก็อยากได้ความชอบ และการได้ความชอบโดยไม่ต้องทำงานวิธีง่ายที่สุดคือเหยียบย่ำผู้อื่นให้ตกแล้วตนจะได้ อ่านเพิ่มเติม

เตมียชาดก

ระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้ พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า 
"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด" ด้วยอานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มีรูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนามโอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระราชาธิราชของมหาทวีปทั้งสี่ พระราชาทรงยินดี เป็นอย่างยิ่ง และทรงเลือกแม่นมที่มีลักษณะดีเลิศตามตำรา จำนวน 64 คน เป็นผู้ปรนนิบัติเลี้ยงดูพระเตมีย์กุมาร วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตัก ขณะที่กำลัง อ่านเพิ่มเติม

ชาดก

ชาดก (สันสกฤต: บาลี: जातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก
ความหมายของชาดก
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กกในความหมาย คือ อ่านเพิ่มเติม