Miyuki Takara - Lucky Star

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เวสสันดรชาดก

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็น
พระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุมและในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและ
สวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณี
ที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่าการฟังเทศน์มหาชาติจบภายใน
วันเดียวจะได้รับอานิสงส์มา


ผู้แต่ง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กวีสำนักวัดถนน
กวีวัดสังขจาย
(พระเทพโมลี (กลิ่น)
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์


ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา

เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่

 ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ 
 คงเรียกแต่เวสสันดรชาดกเรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  
ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศ

ใกล้เคียงนับถือกันมาแต่ อ่านเพิ่มเติม

วิธุรชาดก

ชาติที่ 9 พระวิฑูรบัณฑิต
วิธุรชาดกเป็นเรื่องในอดีตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ที่ทรงเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการบำเพ็ญสัจบารมี 
ในพระชาตินี้ พระโพธิสัตว์ทรงเกิดเป็นวิธุรบัณฑิตผู้บำเพ็ญสัจบารมี 
จนปรากฏเด่นชัดยิ่งกว่าพระชาติใด ๆคำว่า “สัจจะ” คือ ความจริง 
ความซื่อตรง คนที่มีสัจจะ คือ คนที่พูดอย่างไรทำอย่างนั้น 
เป็นคนที่ไว้วางใจได้ทั้งต่อหน้าและลับหลังวิธุรบัณฑิตเป็นผู้ที่
ยึดมั่นในสัจจะชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันโดยไม่หวั่นไหวว่าจะ
ต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง
เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระบรมศาสดาเคยเสวยชาติ 
เป็นผู้มีปัญญาบารมี เข้าใจเวไนยสัตว์และปราบมารให้สิ้นพยศได้
 อดีตนิทานมีเรื่องราวดังนี้

ในแคว้นกุรุรัฐ พระเจ้านัญชัยโกรพทรงครองเมืองอินทปัตตี 

มีราชเสวกนามว่า "วิฑูรบัณฑิต" เป็นอาจารย์สอนธรรมที่มีความปราดเปรื่อง
 และน้าวพระทัยให้พระราชาใฝ่ธรรมะด้วยดีเสมอมา

ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๔ คน คบหาเป็นมิตรกัน ออกบวชด้วย อ่านเพิ่มเติม

พรหมนารทชาดก

พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)

นิทานชาดก พระนารทพรหม ผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมี (นารทชาดก)ครั้งหนึ่งมีพระโพธิสัตว์นามว่า พระนารท ซึ่งเป็นภพชาติหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเรื่องว่า มีพระราชาผู้ครองเมืองมิถิลา ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม พระนามว่า อังคติราช ทรงมีพระธิดาพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระสิริโฉมงดงามนัก พระนามว่า รุจาราชกุมารี ผู้เป็นที่รักแห่งองค์พระราชา เมื่อถึงคืนแห่งเทศกาลมหรสพชาวเมืองได้ประดับประดาบ้านเรือนของตนอย่างสวยงามทุกเรือน ขณะดวงจันทร์ทรงกลดลอยเด่นอยู่บนนภา พระเจ้าอังคติราชทรงประทับท่ามกลางเหล่าเสนาอำมาตย์ภายในพระราชวังที่ประดับประดาอย่างงดงามอลังการสมพระเกียรติแห่งองค์ราชัน

พระเจ้าอังคติราชทรงตรัสกับเหล่าอำมาตย์ว่า “พวกเจ้าว่าในราตรีอันรื่นรมย์เช่นนี้ ข้าจะทำอันใดให้อภิรมย์ดี” ฝ่ายอลาตอำมาตย์ทูลว่า อ่านเพิ่มเติม

จันทกุมารชาดก

   พระจันทกุมาร (จ) เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่ ๗ ในเรื่องพระเจ้าสิบชาติ
    เรื่องมีอยู่ว่าสมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชสมบัติอยู่ในบุปผาดีนคร ท้าวเธอมีมเหสีพระนามว่าโคตมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร มีปุโรหิตชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์
    กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อมียศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ก็ชอบกินสินบน เข้าแบบที่มูลบทบรรพกิจสอนเด็กไว้ว่า
 
“ใครเอาข้าวปลามาให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะไม่ถือประเพณี
ขี้ฉ่อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา”
   นี้เป็นแบบเดียวกัน มีเรื่องความอะไรมา ถ้าไม่อยากชนะ เงิน-เงิน-เงิน เท่านั้นเป็นพระเจ้า ภายในร่างกายของกัณฑหาลพราหมณ์ดูจะเต็มไปด้วยเงิน เลือดคงจะกลายเป็นสีน้ำเงินไปด้วย
    การกินการโกงเป็นของมีมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ แม้เมื่อกัณฑหาลพราหมณ์เข้ามาเสวยอำนาจ เป็นเรื่องเลื่องลือกระฉ่อนไปหมดในสมัยนั้น ไม่มีใครสามารถจะจัดการได้ หากใครร้องเรียนจะต้องถูกลงโทษฐานะบ่อนทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์เสียด้วย เลยพวกปากหอยปากปูทั้งหลายต้องนิ่งเงียบปล่อยให้ลือตามใจชอบ
    วันหนึ่งตอนจะเกิดเรื่อง กัณฑหาลพราหมณ์ตัดสินคดี อย่างที่เคยมาแล้ว คือให้คนที่เอาสินบนมาถวายชนะไป ผู้ที่แพ้ก็ได้แต่ก้มหน้า อ่านเพิ่มเติม

ภูริทัตตชาดก


พระภูริทัต ผู้บำเพ็ญศีลบารมี (ภูริทัตชาดก)

พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์เพื่อแย่งชิงพระราชสมบัติ เช้าวันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงมีรับสั่งให้พระโอรสออกไปให้ห่างไกลจากเมืองพาราณสีแห่งนี้จนกว่าพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ พระโอรสจึงจะสามารถกลับมาสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระองค์ได้ ด้วยเกรงว่าเหตุการณ์จะเป็นไปดังที่ทรงเกิดนิมิตในพระสุบินของพระองค์
ฝ่ายพระโอรสผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชาอยู่ ณ บัดนี้ ไม่เข้าใจในพระบิดา แต่ก็ยินดีทำตามพระประสงค์ของบิดา จึงทรงเดินทางไปบวชอยู่ ณ บริเวณแม่น้ำยุมนา ขณะนั้นมีนางนาคตนหนึ่งเดินทางท่องเที่ยวมาตามริมน้ำอย่างว้าเหว่ เนื่องจากสามีของนางเพิ่งตายไป ทำให้นางต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมิอาจทนอยู่ในบาดาลได้ จนมาเห็นศาลาซึ่งเป็นที่พักของพระโอรสจึงแอบดู ก็พบพระโอรสรูปงามซึ่งบัดนี้ได้เป็นนักบวชพำนักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ นางนาคจึงคิดลองใจโดยจัดตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้หอมนานาชนิด พร้อมของทิพย์สวยงามต่างๆ จากเมือง อ่านเพิ่มเติม

มโหสถชาดก

มโหสถ
เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในทศชาติ มีเรื่องราวโดยย่อดังนี้

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในพระราชสำนักของพระเจ้าวิเทหะ เมืองมิถิลา มีราชบัณฑิตอยู่ ๔ คน คือ เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และ เทวินทะ มีบ้านอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐีและนางสุมนาเทวี ในหมู่บ้านอันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในวันถือปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น พระราชาทรงสุบินว่า ที่มุมสนามหลวง ๔ มุมมีกองเพลิงใหญ่เท่ากำแพงเมือง ๔ กอง ในท่ามกลางมีกองไฟเท่าหิ่งห้อย ๑ กอง แต่กลับส่องสว่างไสวมากกว่ากองเพลิงทั้ง ๔ กองนั้นโหรหลวงจำทำนายว่าจักมีบัณฑิตคนสำคัญมาเกิดในเมืองนี้มโหสถกุมารได้แสดงความเป็นบัณฑิตตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น มีความสามารถออกแบบสร้างศาลาและให้ประดับตกแต่งศาลาพร้อมกับปลูกไม้ดอกไม้ประดับได้ และได้แสดงความอัจฉริยะทางสติปัญญาหลายประการ ได้แก่ อ่านเพิ่มเติม

เนมิราชชาดก

พระเนมิราช
คติธรรม : บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
"การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยตั้งใจมั่นคง โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี
ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้”

     ♤ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ ณ เมืองมิถิลา เมื่อบิณฑบาตแล้วประทับอยู่ในอัมพวันสวนมะม่วง ในเวลาตะวันเย็นทอดพระเนตรภูมิประเทศราบรื่น พระพุทธองค์จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบทูลตามเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระพุทธองค์ตรัสว่า ครั้งเมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็น “พระยามะฆะเทวราช” ได้มาเล่นอยู่ในอัมพวันอุทยาน ณ สถานที่นี้ถึง ๘๔,๐๐๐ ปี แล้วทรงนิ่งอยู่ พระสงฆ์ทั้งปวงพร้อมกันอาราธนา พระพุทธเจ้าจึงโปรดประทานเล่าเรื่อง  อ่านเพิ่มเติม